นักออกแบบผู้มีพลัง(จาก)ภายใน…
ความธรรมดาที่ไม่เหมือนใคร หรือ ความแปลกที่ไม่มีใครเหมือน?
นักออกแบบผู้มี พรสวรรค์ หรือ พรแสวง?
คิดมาก หรือ ไม่ได้คิด?
อะไรคือกุญแจสำคัญของนักออกแบบผู้นี้?
Naoto Fukasawa | นาโอโตะ ฟูคาซาว่า
นักออกแบบที่ทำให้เรารู้ว่า… การมีชื่อเสียงก้องโลกได้ คุณไม่จำเป็นต้องสร้างผลงานที่คน ‘มองแล้วชอบ’ แค่สร้างผลงานที่คน ‘ใช้แล้วรัก’ ก็พอแล้ว
“การออกแบบ ก็เหมือนการทำซุปนั่นแหละ”
– Naoto Fukasawa –
อะไรคือสิ่งที่สร้างตัวตนของสถาปนิกผู้นี้ ?
ชีวิตส่วนตัว:
- เกิดเมื่อปี 1956 (ไม่ระบุวันที่และเดือนที่แน่ชัด) ที่ Yamanachi ในเขต Chūbu ที่อยู่ตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น (ปัจจุบันอายุ 62 ปี)
- พ่อของ Naoto เป็นช่างไฟฟ้า บ้านในวัยเด็กของเขาเต็มไปด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้ามากมาย และมันก็เป็นเหมือนสนามเด็กเล่นในวัยเด็กของเขา ซึ่งแน่นอนว่ามันได้จุดประกายให้เด็กชายตัวเล็กๆ ฝันที่อยากจะเป็นนักออกแบบ
- ตอน 10 ขวบ Naoto รู้จักกับความสวยงามในการออกแบบ จากการเห็นรถยนต์ Porche เป็นครั้งแรก
- จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Tama Art University คณะออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาศิลปะและการออกแบบ 3D ในปี 1980
- บริษัทแรกในชีวิตการทำงานของ Naoto Fukasawa คือ Seiko-Epson หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตปรินเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- ปี 1989 – 1996 เขาออกเดินทางไปหาแรงบันดาลใจที่ดินแดนแห่งเสรี ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสิ่งที่ได้กลับมา มันมากกว่าแรงบันดาลใจ แต่เป็นแนวคิด และชีวิตทั้งชีวิตในฐานะนักออกแบบ
- Naoto Fukasawa เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (industrial design) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘ไอดี’ เขาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้นๆ ในวงการ
- สิ่งที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับเขา คือ การเป็นผู้นำทางด้านความคิดและปรัชญาการออกแบบที่ผูกพันกับการดำรงชีวิต
เพราะ ‘ป่วย’ จึงเป็นนักออกแบบ…

ชีวิตไร้ปาฏิหาริย์ : โลกทั้งใบเปลี่ยนไป เพราะ ‘พรวิเศษ’ ที่ ‘แสนธรรมดา’

การเดินทางเปลี่ยนชีวิต? : แรงบันดาลใจไกลบ้าน… ขุมพลังของ Naoto Fukasawa

Naoto เสพติด ธรรมชาติ


เส้นทางสู่อาชีพ ‘นักออกแบบความสุข’


ความสัมพันธ์ระหว่าง Naoto และ Muji (ที่รัก)?

ความเชื่อ กับ ชีวิตการทำงาน:
การออกแบบสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ได้คิดถึงแต่เพียงสิ่งนั้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับความกลมกลืนซึ่งกันและกันของทุกๆ สิ่งบนโลกใบนี้
- Naoto ออกแบบสิ่งของใกล้ตัว ที่เขามักจะพูดถึงบ่อยๆ ว่า ‘close to body’ เขาคิดว่าการออกแบบหรือดีไซน์ ควรเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ของมนุษย์ รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของสิ่งของนั้นๆ มีความสำคัญพอๆ กับการออกแบบขั้นสุดท้าย
- พรวิเศษของ Naoto คือ สิ่งที่โคตรธรรมดาสามัญ และ พลังแห่งการสังเกต
- เขาเชื่อในการ ”ออกแบบสิ่งที่จำเป็น” ซึ่งนักออกแบบควรสรรสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ยังขาดหาย และควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่ช่วยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น ไม่ใช่เอาแต่หาองค์ประกอบอื่นๆ มาเพิ่มในงานออกแบบจนล้นเกินความจำเป็น แต่ควรรักษาการใช้งานเรียบง่ายแบบเดิม ในขณะที่เพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น
- การใส่องค์ประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ เพียงเพื่อแสดงตัวตนของนักออกแบบ คือ เนื้อร้ายสำหรับหัวใจของการออกแบบ ซึ่งมันจะทำให้การออกแบบดูแย่ลง

- เขาเชื่อว่า “การไม่ต้องคิด” (Without Thought) จะช่วยค้นหาคำใบ้ที่ซ่อนตัวอยู่ในพฤติกรรมอันเป็นจิตใต้สำนึกของมนุษย์ การเข้าถึงแก่นสารและคุณค่าแท้จริงของสิ่งต่างๆ ผ่านการออกแบบ ที่เขาเชื่อว่าคนเราไม่ควรต้องใช้ความคิดเกี่ยวกับวัตถุที่ตนใช้งานอยู่ งานออกแบบที่ดีควรผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งแวดล้อม โดยทิ้งให้คนใช้สัญชาตญาณของตนค้นพบวิธีการใช้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยปราศจากการปรุงแต่งที่ไร้ประโยชน์
- “ตอนคนใช้ของ พวกเขาไม่ได้คิดอะไรเลย” นอกเสียจากประโยชน์จากการใช้งาน จุดประสงค์ของการออกแบบที่หลายคนเข้าใจ คือ การสร้างความสวยงามทางสายตา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือสิ่งของเป็นที่ดึงดูดและถูกใจผู้ใช้ แต่สำหรับ Naoto เขาคิดว่า ความสวยงามที่แท้จริงของการออกแบบนั้นสัมผัสได้ด้วยใจ… คนอาจจะชอบเพราะรูปลักษณ์ แต่คนจะรักเพราะการใช้งาน
- Naoto เชื่อเหลือเกินว่า “การออกแบบที่ดีที่สุด คือ การทำให้มันละลายเข้าสู่พฤติกรรมของมนุษย์”
HIGHLIGHT ผลงาน:
- CD player / muji



- Muji Hut



- Déjà-vu / Magis



- ±0 (Plus Minus Zero)





- Infobar / auKDDI

- Neon / auKDDI

- Twelve / issey miyake


- Muji watch

- Packaging Design

- Product Design
