อันดับที่ 1 : ไมลิเซียม (Mycelium) หรือ เส้นใยของเห็ดรา
ในวงการดีไซน์ ในระยะหลังมานี้มีการค้นพบวัสดุแปลกใหม่ที่มีโครงสร้าง และคุณสมบัติที่ดี อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก แต่ใครจะไปคิดละว่าหนึ่งในนั้นจะเป็นพี่เห็ดไมลิเซียม เรื่องของเรื่องก็คือเจ้าเห็ดนี้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตกแต่งซุ้มประตู และส่วนโค้งส่วนเว้าต่างๆ ของหอแสดงงานจำลองขนาดย่อมในอินเดีย มิหนำซ้ำมันยังถูกนำมาใช้จำลองให้เป็นเสมือนโครงสร้างของต้นไม้ในแดนกิมจิอีกด้วย เก๋ไม่เบาเลยใช่ไหมล่ะ!




อันดับที่ 2 : พลาสติกจากท้องทะเล
น่าแปลกมากที่จู่ๆพลาสติกธรรมดาๆสามารถกลับมามีบทบาทและเป็นที่สนใจของเหล่าดีไซน์เนอร์อีกครั้ง ทั้งๆ ที่พลาสติกเหล่านี้ก็มีใช้กันอยู่ทั่วไปมานานพอสมควรแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางเรากลับพบว่าต้นสายปลายเหตุของการกลับมาเป็นกระแสนิยมในครั้งนี้ เกิดมาจากการที่เหล่าดีไซน์เนอร์หลายคนได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณของพลาสติกที่เสียทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ในท้องทะเล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากงงานนี้ก็บอกได้เลยว่าโคตรเจ๋ง ตัวอย่างผลงานที่มีให้เห็นกันชัดเลยก็คือรองเท้าแบรนด์ดังจาก Addidas ซึ่งถ้าดูจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้วหลายคนอาจไม่เชื่อว่ารองเท้าคู่นี้ทำมาจาก ‘ขยะพลาสติก’








อันดับที่ 3 : น้ำเสีย
“ของเสีย ก็ต้องทิ้ง” คนธรรมดาที่ได้ก็คิดแบบนี้กันทั้งนั้นแหละ… แต่ไม่ใช่สำหรับเจ้าหน้าที่การประปาชาวดัตช์ที่สามารถคิดค้นวิธีพัฒนาน้ำเสียให้กลายเป็นไบโอพลาสติกได้ซะงั้น ไม่เพียงเท่านั้นเพราะในขณะเดียวกันดีไซน์เนอร์ชาวดัตซ์อย่าง Nienke Hoogvliet ก็ยังสามารถต่อยอดพัฒนาเทคนิคส่วนนี้ให้กลายไปเป็น ‘โกศ’ สำหรับใช้ในพิธีฌาปนกิจได้อีกด้วย บอกได้คำเดียวว่า สุดยอดจริงๆ



อันดับที่ 4 : เจสโมไนท์ (Jesmonite)







อันดับที่ 5 : ใบไม้




อันดับที่ 6 : หญ้าทะเล




อันดับที่ 7 : หนังท้องวัว








อันดับที่ 8 : เลือด

อันดับที่ 9 : สาหร่าย
บอกเลยว่าสาหร่ายเป็นพืชที่มองข้ามไม่ได้อีกแล้วจริงๆ เพราะดีไซน์เนอร์หลายคนกลับพบว่าเจ้าสาหร่ายเป็นหนทางสู่ความยั่งยืนสำหรับอนาคต ขนาดแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่จากสวีเดนอย่าง Ikea ยังให้ความสนใจ จนให้ทีมวิจัย Space10 ร่วมกับสถาปนิกอีก 3คน ร่วมกันพัฒนาและสามารถนำเอาสาหร่ายมาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างศาลาอเนกประสงค์จนสำเร็จ ถ้าเรียกว่าโดมสาหร่ายจะฟังดูแปลกๆ ไปเสียหน่อย อย่างไรก็ตามทางแบรนด์ได้บอกเอาไว้ว่า มันเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สามารถผลิตอาหารได้ เนื่องจากคุณสมบัติในเรื่องของการสังเคราะห์แสง ซึ่งแหวกแนวสุดๆ












อันดับที่ 10 : คาร์บอน ไฟเบอร์ (Carbon fibre)











อันดับที่ 11 : เรซิน และ ขี้เลื่อย


